เล็งเห็นคุณค่า


    หลังสงครามในกัมพูชาสงบ เมื่อ 30 ปีที่แล้ว (สงครามเวียดนาม และสงครามในกัมพูชา ในระหว่างปี พ.ศ. 2518-2524) กลุ่มเครือบริษัทอินโด-ไชน่ากรุ๊ป มีการรวบรวมพื้นที่ชายแดนที่เป็นที่รกร้างไร้ประโยชน์ในขณะนั้น โดยเล็งเห็นว่าในอนาคตจุดนี้น่าจะมีศักยภาพเป็นพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ

ในปี พ.ศ. 2551 คณะผู้บริหารบริษัท โดยท่านประธานผู้บริหารมีความประสงค์ว่าพื้นที่นี้เหมาะสำหรับการสร้างเมืองใหม่ ให้เป็นเมืองที่พร้อมสรรพทั้งระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ประกอบกับนโยบายของภาครัฐ มีการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จุดนี้ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ของไทยในการค้าขายระหว่างประเทศ

 

    จึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการที่ 1 ในปี พ.ศ. 2554  รูปแบบอาคารพาณิชย์บนเนื้อที่ 50 ไร่ รวม 347 คูหา สามารถประกอบธุรกิจ สำนักงาน ที่พักอาศัย พร้อมสาธารณูปโภคพื้นฐานครบครัน เชื่อมโยงระบบ การคมนาคมกับทุกภูมิภาคทั่วทั้งเอเชียตะวันออก เสร็จในปี พ.ศ. 2555 ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี มีผู้เข้าซื้อหมดภายในเวลา 2  เดือน 

 

 

เพิ่มศักยภาพสู่อาเซียน


    เมื่อโครงการ 1 อาคารพาณิชย์ ได้รับการตอบรับอย่างงดงาม เป็นนิมิตหมายอันดีที่พื้นที่แห่งนี้จะพัฒนาสู่เศรษฐกิจอาเซียน คณะผู้บริหารจึงมีการวางผังเพื่อก่อสร้างโครงการ 2, 3 และ 4 เพื่อรองรับในทันที

    ปลายปี พ.ศ. 2555 เริ่มก่อสร้างโครงการที่ 2 ในชื่อ “ศูนย์การค้าอินโดจีน (อรัญประเทศ)” บนพื้นที่ 104 ไร่ เป็นตลาดค้าปลีก-ส่ง ที่รองรับผู้ประกอบการกว่า 2,000 ราย เพื่อเป็นตลาดระหว่างประเทศ ประกอบด้วยอาคารโดม 12 หลัง อาคารพาณิชย์ 273 คูหา เปิดโครงการในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

 

พัฒนาเพื่อมุ่งสู่ความเป็นสากล


    โครงการสร้างสถานีขนส่ง (บขส.) เป็นจุดศูนย์กลางการคมนาคมทางภาคตะวันออกสู่ประเทศเพื่อนบ้าน  

  

    โครงการในอนาคต เขตอุตสาหกรรมขนาดย่อม ,และ อาคารสำนักงานใหญ่ 8 ชั้น  บนพื้นที่กว่า  500 ไร่ ขณะนี้ดำเนินการก่อสร้าง โกดังสินค้า (Ware House) เพื่อรองรับธุรกิจ SME เป็นเขตอุตสาหกรรมขนาดย่อม บนพื้นที่ 60 ไร่ ใกล้จุด บขส. มีคลังสินค้าที่กระจายสินค้าไปสู่แหล่งค้าขายทั่วภูมิภาค

    

พร้อมก้าวไปด้วยกัน


ด้วยนโยบายที่จะพัฒนาเมืองใหม่ กลุ่มเครือบริษัทอินโดไชน่ากรุ๊ป มีหลักคิดเพื่อนำไปสู่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาในทุกๆ ด้านอย่างยั่งยืน ดังนี้

1. สร้างพื้นที่รกร้างให้มีประโยชน์ ผลักดันให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ มีความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการส่งออกที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจ

2. สร้างโอกาสทางอาชีพให้กับชุมชน ให้เกิดการจ้างงานคนในชุมชนได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เป็นการปลูกฝังจิตสํานึกรักบ้านเกิด โดยมีองค์กรสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง 

3. พัฒนาเป็นแหล่งชุมชนที่มีความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมจากหลายเชื้อชาติ เป็นศูนย์กลางการประชุมระหว่างประเทศ สร้างความมั่นคง ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน สร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและเพิ่มอำนาจการต่อรอง